เมนู

7. อายตนสูตร


ว่าด้วยผัสสายตนะ 6


[ 464 ] ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี.
ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยผัสสายตนะ 6.
ก็ภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็ม
ใจเงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่.
ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ยังภิกษุ
ทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยว
ด้วยผสัสายตนะ 6 และภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโ่ยชน์ น้อมนึกมา
ด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไป หาพระสมณ-
โคดมถึงที่ประทับ เพื่อประสงค์ทำปัญญาจักษุให้พินาศ.
[465] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ครั้นแล้ว ได้ร้องเสียงดังพิลึกพึงกลัว ประดุจแผ่นดินจะถล่ม ในที่ใกล้
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งอย่างนี้ว่า ภิกษุ
ภิกษุ แผ่นดินนี้เห็นจะถล่มเสียละกระมัง.
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะภิกษุนั้นว่า
ดูก่อนภิกษุ แผ่นดินนี้ย่อมไม่ถล่ม ดูก่อนภิกษุ นั่นมารผู้มีบาปมาแล้ว เพื่อ
ประสงค์ทำปัญญาจักษุของพวกเธอให้พินาศ.

[466] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี้เป็นมาร
ผู้มีบาปจึงตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และธรรมารมณ์ทั้งสิ้นนี้เป็นโลกามิสอัน
แรงกล้า โลกหมกมุ่นอยู่ในอารม เหล่านี้
ส่วนสาวกของพระพุทธเจ้ามีสติก้าวล่วง
โลกามิสนั้น และก้าวล่วงบ่วงมารแล้ว
รุ่งเรื่องอยู่ดุจพระอาทิตย์ ฉะนั้น.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จัก
เรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

อรรถกถาอายตนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอายคนสูตรที่ 7 ต่อไป :-
บทว่า ผสฺสายตนานํ ได้แก่ อายตนะทั้งหลายแห่งผัสสะ ที่ชื่อว่า
เป็นไปในทวาร 6 เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุมโดยสัญชาติ. บทว่า ภยเภรว
สทฺทํ
ได้แก่ เสียงที่ให้เกิดความกลัว เช่นเสียงเมฆเสียงกลองเสียงฟ้าผ่า. บท
ว่า ปฐวี มญฺเญ อุทฺรียติ ได้แก่ ผืนแผ่นดินใหญ่ ได้เป็นประหนึ่งทำ
เสียงครืนครั่น. บทว่า เอตฺถ โลโก สมุจฺฉิโต ได้แก่โลกหมกมุ่นในอารมณ์
6 เหล่านี้. บทว่า มารเธยฺยํ ได้แก่ วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ 3 อันเป็นที่ตั้งแห่ง
มาร.
จบอรรถกถาอายตนสูตรที่ 7